ดูสินค้าในตะกร้า    แจ้งการชำระเงินออนไลน์   
     น้ำมันกุ้งคู๋
    สมุนไพรจีนและไทย (86)
     สมุนไพรจากพืช (55)
     สมุนไพรไทยส่งตรงจากสวนเกษตรอินทรีย์ (2)
     สมุนไพรแบบผงและเกล็ด (18)
     โสม (5)
     จับเลี้ยงและชา (3)
     สมุนไพรจากสัตว์ (5)
    ชุดสมุนไพรขนาดทดลอง (3)
    ยาต้มสมุนไพรจีนและไทย (2)
    สมุนไพรจีนและไทยสำหรับดอง (11)
    ยาสมุนไพรจีนและไทยสำเร็จรูป (34)
    เครื่องยาอาหารจีนและไทย (24)
     เครื่องตุ๋นยาจีน (5)
     เครื่องเทศ (19)
    หม้อต้มยาจีน (1)
    ยูยีออยล์ (Yu Yee Oil) (0)
    ผลิตภัณฑ์สมุนไพรสำหรับใช้ภายนอก (4)
     น้ำมันมะรุม (Moringa Seed Oil) (1)
     ยูยีออยล์ (Yu Yee Oil) (2)
     น้ำมันกุ้งคู๋
  เกร็ดความรู้
คุณลักษณะของยาที่แตกต่างกันมีวิธีต้มที่ไม่เหมือนกัน
[26 กรกฎาคม 2557 22:34 น.]จำนวนผู้เข้าชม 5824 คน

คุณลักษณะของยาที่แตกต่างกันมีวิธีต้มที่ไม่เหมือนกัน

เนื่องจากยาสมุนไพรจีนแต่ละตัวมีความแตกต่างกัน ทั้งยังมาจากแหล่งเพาะปลูกที่ต่างกันอีกด้วย คุณภาพของยาก็จะแตกต่างกันด้วย จุดมุ่งหมายของการต้มยานั้นก็เพื่อให้สมุนไพรแต่ละตัวออกฤทธิ์ยาได้มากที่สุด โดยสามารถสรุปวิธีการต้มได้ดังต่อไปนี้

1.ต้มก่อน (ยาที่จำเป็นต้องต้มก่อน) 
-ต้มก่อน 10-20 นาที หลังจากนั้นค่อยใส่ยาตัวอื่น:
ตัวยาบางชนิดมีความแข็งมาก ยากที่จะต้มเอาฤทธิ์ยาที่มีประโยชน์ออกมาได้ ดังนั้นจึงต้องต้มก่อน เช่น ตัวยาจำพวกแร่หิน เปลือกหอย เขาหรือกระดองสัตว์
(ตัวอย่างยา: สือเกา หลงกู่ เจินจูหมู่)

-ต้มก่อนประมาณ 30-40 นาที:
ตัวยาที่มีพิษก็จำเป็นที่จะต้องต้มก่อน ต้มนานๆ เพื่อให้พิษของยาอ่อนลงหรือหายไป
(ตัวอย่างยา: เซิงฟู่จื่อ และยาจำพวกอูโถว)

2.ใส่ทีหลัง (ยาที่จำเป็นต้องต้มที่หลัง)
-ก่อนที่ยาหลักทั้งหมดจะต้มเสร็จประมาณ 5-10 นาที ค่อยใส่ลงไปต้ม:
ส่วนมากจะเป็นตัวยาที่มีกลิ่นหอม มีน้ำมันระเหย หรือเป็นยาที่ไม่เหมาะสมกับการต้มนานๆ การต้มทีหลังจะช่วยไม่ให้สูญเสียสารที่ออกฤทธิ์
(ตัวอย่างยา: ฮว่าเซียง ป้อเหอ ต้าหวง)

3.ใส่ถุงต้ม
-นำตัวยาใส่ลงในถุงผ้าขาวบางหรือมัดไว้แล้วค่อยนำมาต้ม:
ส่วนมากจะใช้กับตัวยาจำพวกชนิดผง มีขน หรือเมล็ดเล็กๆ ต่างๆ เช่น ยาที่สามารถละลายติดหม้อได้ การห่อไว้จะช่วยกันไม่ให้ยาติดก้นหม้อจนไหม้ หรือตัวยาบางตัวที่มีขนและสามารถหลุดออกได้อย่างง่ายดาย การห่อไว้สามารถช่วยให้ขนไม่ระคายในลำคอในตอนรับประทาน
(ตัวอย่างยา: เชอเฉียนจื่อ เสวียนฟู่ฮวา)

4.ต้มต่างหาก (ไม่ต้มรวมกับยาตัวอื่น)
-นำไปต้มต่างหาก หลังจากนั้นนำน้ำยาที่ได้มาผสมกับยาตัวอื่น แล้วค่อยรับประทาน:
ยาบางตัวที่มีราคาแพงใช้วิธีต้มต่างหากเพื่อให้สารออกฤทธิ์ที่มีประโยชน์ของยาออกมาให้มากที่สุด 
(ตัวยายา: เกาหลีเซิน ซีหยางเซิน ลู่หรง และตัวยาอื่นๆ ที่มีราคาสูง)


Credit: หนังสือ "รู้เลือกรู้ใช้ 100 สมุนไพรจีน"
เกร็ดความรู้
- ตังกุย 当归 [26 กรกฎาคม 2557 22:34 น.]
- เก๊กฮวยตราเสือ ดอกเก๊กฮวยตราเสือ (Chrysanthemum) มาดูกันว่าดอกเก๊กฮวยสามารถนำไปทำอะไรได้บ้าง [26 กรกฎาคม 2557 22:34 น.]
- วิธีการตรวจสอบน้ำผึ้งว่าเป็นน้ำผึ้งแท้หรือน้ำผึ้งปลอม [26 กรกฎาคม 2557 22:34 น.]
- คุณลักษณะของยาที่แตกต่างกันมีวิธีต้มที่ไม่เหมือนกัน [26 กรกฎาคม 2557 22:34 น.]
- อาหารและของแสลงต่อโรคที่จะต้องระวังหว่างที่รักษาด้วยยาจีน [26 กรกฎาคม 2557 22:34 น.]
- เคล็ดลับการต้มยาสมุนไพรจีน [26 กรกฎาคม 2557 22:34 น.]
- การตรวจสอบภาวะร่างกายเพื่อเลือกใช้ตัวยาที่เหมาะสม [26 กรกฎาคม 2557 22:34 น.]
- อาหารและเครื่องดื่มต้องห้ามระหว่างรับประทานสมุนไพรจีน [26 กรกฎาคม 2557 22:34 น.]
ดูทั้งหมด

Copyright by jiankangherbs.com
Engine by MAKEWEBEASY